ความเป็นมาโครงการ

ความเป็นมา

ภายใต้แผนหลักของการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ดำเนินการศึกษาโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นพื้นที่ตามแผนพัฒนาระยะกลาง เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าและเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของ กนอ. ปี พ..2557 – ถึงปี พ..2559 ที่กำหนดให้โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 เป็นโครงการที่ต้องดำเนินการและถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนโครงการส่งเสริมการขนส่งแบบ Green Logistic

ซึ่งเมื่อปี พ..2557 กนอ. ได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม และออกแบบเบื้องต้น (Conceptual Design) สำหรับโครงสร้างพื้นฐานหลักของท่าเรือที่สำคัญและสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นอื่นๆ ตลอดจนจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ   (รายงาน EHIA) ของโครงการ ซึ่งต่อมาได้รับการพิจารณาเห็นชอบรายงานจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้วเมื่อวันที่ 22 เมษายน ..2562

ต่อมาคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 มอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) พิจารณาแนวทางให้เอกชนเข้าร่วมโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และเห็นชอบให้โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 เป็นโครงการใน EEC Project List โดยดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการในการร่วมลงทุนกับเอกชน หรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.. 2560

การพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3

โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 โดยให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ถมทะเลหลังท่า เพื่อใช้งานประมาณ 550 ไร่ และพื้นที่บ่อเก็บกักตะกอนดินเลนระหว่างก่อสร้างประมาณ 450 ไร่ ความยาวหน้าท่ารวมกันประมาณ 2,200 เมตร ประกอบด้วย

 

1) งานส่วนพื้นที่ถมทะเลและสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Infrastructure) จำนวนเงินลงทุน 12,900 ล้านบาทประกอบด้วยงานต่างๆดังต่อไปนี้

(1) งานขุดลอกร่องน้ำเดินเรือ (Navigation Channel)

(2) แอ่งกลับเรือ (Maneuvering Basin)

(3) งานถมทะเล (Reclamation)

(4) งานก่อสร้างเขื่อนหินกันทราย (Revetment)

(5) งานก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น (Breakwater)

(6) ท่าเทียบเรือบริการ

(7) งานระบบสาธารณูปโภค และงานอุปกรณ์ควบคุมการเดินเรือ

(7.1) งานถนน

(7.2) งานระบบประปา

(7.3) งานระบบระบายน้ำฝนและป้องกันน้ำท่วม

(7.4) ระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย

(7.5) ระบบกำจัดขยะมูลฝอย

(7.6) ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง

(7.7) ระบบไฟฟ้าสื่อสาร

(7.8) ระบบขนส่งทางท่อ

(7.9) ระบบดับเพลิง

(7.10) งานอุปกรณ์ควบคุมการเดินเรือ

 

2) งานส่วนการก่อสร้างท่าเทียบเรือ บนพื้นที่ถมทะเล (Superstructure)

สำหรับการพัฒนาท่าเทียบเรือเพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้าแบ่งเป็น

(1) ท่าเทียบเรือสินค้าเหลว มีพื้นที่ 200 ไร่ ความยาวหน้าท่า 814 เมตร มีท่าเทียบเรือ จำนวน 2 ท่า มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 4,300 ล้านบาท

(2) ท่าเทียบเรือก๊าซ มีพื้นที่ 200 ไร่ ความยาวหน้าท่า 1,415 เมตร มีท่าเทียบเรือ จำนวน 3 ท่า มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 35,000 ล้านบาท

(3) คลังสินค้าหรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง พื้นที่ 150 ไร่ มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 3,200 ล้านบาท – 28,000 ล้านบาท

วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ และวัตถุดิบเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

แนวคิด

กนอ. จะดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ออกเป็น 2 ช่วง คือ

  • ช่วงที่ 1 : การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยเอกชนที่ร่วมลงทุนนั้น จะได้สิทธิ ในการพัฒนาพื้นที่ท่าเทียบเรือ ความยาวหน้าท่า 1,415 เมตร และพื้นที่หลังท่าเทียบเรือประมาณ 200 ไร่ เป็นระยะเวลา 30 ปี

โดยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ..2562 กนอ. ได้ลงนามในสัญญาร่วมลงทุน กับบริษัท กัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (GMTP) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด อันเป็นบริษัทในกลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

  • ช่วงที่ 2 : การคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนบนพื้นที่ที่ได้จากการถมทะเลในช่วงที่ 1 ประกอบด้วยพื้นที่ 2 แปลง คือ พื้นที่พัฒนาท่าเทียบเรือความยาวหน้าท่า 814 เมตร พื้นที่หลังท่าเทียบเรือประมาณ 200 ไร่ และพื้นที่สำหรับคลังสินค้าหรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องประมาณ 150 ไร่ เป็นระยะเวลา 30 ปี

ปัจจุบัน กนอ. อยู่ระหว่าง การดำเนินการตามกระบวนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการ ในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การดำเนินงาน

เนื่องด้วย กนอ. ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ในระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) กับ GMTP โดยเป็นไปตามแผนงานของโครงการฯ สกพอ. จึงดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการ ในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารสัญญาและ กนอ. ในการควบคุมและกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญา โดยมีรายละเอียดดังนี้

1). งานสนับสนุน สกพอ. และ/หรือ กนอ. ในการตรวจสอบ และให้ข้อคิดเห็นต่อรายละเอียดของแบบในส่วนงานโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) การขอแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงวิธีการก่อสร้าง และรายละเอียดโครงการต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Environmental Health Impact: EHIA) ของกลุ่มกิจการร่วมค้าเอกชนผู้ร่วมลงทุนผู้รับสัมปทาน

2). บริหารงานและควบคุมงานก่อสร้างโครงการ (Project Management and Construction Supervision Consultant: PMSC) ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ในระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) การพัฒนางานโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure)

3). งานด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน

จำนวนผู้เข้าชม : 9,541